ENTH
MITR logoMITR technical consultant
Home   About Us   Our Services   News   Articles   Jobs   Contact Us  
Articles  
 Ariticles
Saving Tip : การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่าง (ตอนที่ 3)
Author: นายปิยะ ชื่นชม
Published่: February 3, 2012

 

     การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 และ 2 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง”  และ “ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5  ทดแทนหลอดขนาด T8” โดยการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การรับประกันหลอดไฟ หรือ Ballast และความเหมาะสมของพื้นที่ ที่จะนำไปใช้งานด้วย ดังนั้นในตอนที่ 3 นี้ ขอนำเสนออีก 1 มาตรการ ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานของหลอดไฟทั้งวงจร หรือทั้งระบบก็ว่าได้ โดยมาตรการที่ว่านี้คือ ”การลดแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอดไฟ”   

     โดยปกติแล้วกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าของหลอดไฟโดยส่วนใหญ่ที่ใช้กัน จะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า ดังสมการ
Power (lamp)  =  Volt (V)  x  Amp. (A)  x  P.F.

 

 

 




                    ตัวอย่างพื้นที่ ที่ได้ปรับลดแรงดันไฟฟ้า และมีการตรวจสอบระดับความสว่างภายหลังการปรับปรุง

ดังนั้นถ้าต้องการลดกำลังไฟฟ้าของหลอดไฟสามารถทำได้โดยการลดแรงดันไฟฟ้า แต่หลักการอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่าง มีจุดสำคัญที่ ผู้ที่จะดำเนินการปรับปรุงต้องตระหนักไว้เสมอคือ ความส่องสว่าง (Illuminance ; lux) ภายหลังการปรับปรุงต้องไม่น้อยกว่าเดิม และไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

 ขอให้หลักการในการพิจารณาปรับปรุงดังนี้

  1. ระดับความสว่างภายหลังการปรับปรุงต้องไม่น้อยกว่าเดิม และไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน
  2. จุด หรือบริเวณที่จะปรับปรุงต้องมีแรงดันไฟฟ้าต่อเฟสมากกว่าพิกัดของหลอดไฟ เช่น มากกว่า 220 V
  3. ในวงจรไฟฟ้า 1 Circuit ต้องมีเฉพาะหลอดไฟเท่านั้น ห้ามมีโหลดประเภทอื่น และหลอดไฟของแต่ละ Circuit ควรจะเป็นประเภทเดียวกัน เนื่องจากหลอดแต่ละประเภท ระดับแรงดันที่สามารถลดได้ไม่เท่ากัน
  4. เลือกดำเนินการปรับปรุงในพื้นที่ ที่มี ช.ม. เปิดใช้งานแสงสว่างนาน  (เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน ~ 10 hr/day)
  5. เลือกดำเนินการปรับปรุงในพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกได้
  6. สำหรับหลอดไฟที่ทำงานร่วมกับ Electronic Ballast  อาจจะไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการนี้ได้
  7.  ต้องมีวงจร Bypass ในกรณีที่เกิดปัญหาไม่วาจะกรณีใดก็ตาม ต้องสามารถปรับเข้าสู่สภาพเดิมได้



     เมื่อพิจารณาตามหัวข้อด้านบนดีแล้ว ก็มาพิจารณาถึงวิธีการลดแรงดันไฟฟ้า โดยในปัจจุบันมีอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ลดแรงดันมีมากมาย บางยี่ห้ออาจจะใช้ หม้อแปลงไฟฟ้าทำหน้าที่ลดแรงดัน หรือเป็นวงจร Power Electronic ทำหน้าที่ลดแรงดันเป็นต้น มีทั้งแบบ Single Phase หรือแบบ Three Phase ก็แล้วแต่ว่าผู้ที่จะปรับปรุงจะสนใจแบบไหน โดยในช่วงเริ่มต้นอุปกรณ์จะจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่พิกัด หลังจากนั้นประมาณ 3-5 min (บางยี่ห้ออาจจะเร็ว-ช้ากว่านั้น) อุปกรณ์จะทำหน้าที่ลดแรงดันไฟฟ้า ส่งผลให้กำลังไฟฟ้าของระบบแสงสว่างลดลง และความส่องสว่าง (lux) ลดลงด้วย

แรงดันที่สามารถปรับลดได้ของหลอดไฟแต่ละประเภท




     Note : หลอดประเภท High Pressure Discharge ไม่สามารถลดแรงดันให้เหมือนกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ได้ ถ้าลดต่ำมากๆ หลอดอาจจะดับได้


     ตัวอย่างผลตรวจวัดของสถานประกอบการแห่งหนึ่งที่ลดแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 W ลงมาถึง 190 V และมีผลประหยัดประมาณ 30 % หรือสรุปได้ว่าเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลง 2 Volt จะส่งผลให้กำลังไฟฟ้าลดลงประมาณ 1 Watt




     ในท้ายที่สุดภายหลังการปรับปรุงต้องคำนึงถึงเรื่องระดับความส่องสว่างด้วย จากตัวอย่างที่นำสนอ สถานประกอบการเลือกปรับลดแรงดันไฟฟ้าลงประมาณ 190 V ในช่วงเวลากลางวัน และปรับกลับสภาพเดิมเมื่อถึงเวลากลางคืน โดยที่ตัวอุปกรณ์สามารถปรับลดแรงดันไฟฟ้าตามช่วงเวลาได้   




Source: นายปิยะ ชื่นชม
ระดับ TIER ของศูนย์คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน UPTIME INSTITUTE และ TIA-942
อาคารเอสซีจี 100 ปี อาคารที่พร้อมทั้งเทคโนโลยี และ LEED
คู่มือ การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน (ตอนที่ 1)
INFOTAINMENT
เกณฑ์อาคารเขียวไทย โดยคนไทย เพื่อประเทศไทย
Other articles...

 <  Back

   
   
{ Home }   { About Us }   { Our Services }   { News }   { Articles }   { Jobs }   { Contact Us }
บริษัท มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์ จำกัด
1168/8 ชั้น12 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถ.พระราม4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร. +66-2679-9079-84  โทรสาร. +66-2679-9085  E-mail: mitr@mitr.com
Copyright © 2010, MITR Technical Consultant Co.,Ltd. All rights reserved.