ENTH
MITR logoMITR technical consultant
Home   About Us   Our Services   News   Articles   Jobs   Contact Us  
Articles  
 Ariticles
การอุ่นน้ำป้อนโดยการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Heat Recovery)
ผู้เขียน: วัลลภ เรืองด้วยธรรม ผู้จัดการฝ่ายอนุรักษ์พลังงาน บริษัทมิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์จำกัด
เผยแพร่: 9 ตุลาคม 2553

 

          โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิง หรือใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต มักจะมีความร้อนเหลือทิ้ง เช่นความร้อนจากไอเสียของเตาเผา , ความร้อนจากไอเสียของ Boiler และความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ ซึ่งการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงาน หรือลดการใช้เชื้อเพลิงของระบบเดิมลงได้ โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการนำความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรมอาหาร ไปใช้อุ่นน้ำป้อน Boiler




 

          ในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่มักมีการใช้ Boiler ในกระบวนการทำอาหารให้สุก หรือฆ่าเชื้อโรค และมีระบบทำความเย็นสำหรับเก็บ หรือแช่แข็งอาหาร ซึ่งทั้ง 2 ระบบดังกล่าวจะใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูง ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสามารถประยุกต์นำระบบ Heat Recovery  มาใช้ โดยการนำความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น ไปใช้อุ่นน้ำป้อน Boiler 




          การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นก่อนระบายความร้อนกับน้ำป้อน Boiler จะแลกเปลี่ยนผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Heat Exchanger ซึ่งจะถูกออกแบบมาเฉพาะให้เหมาะสมกับปริมาณความร้อนเหลือทิ้ง อัตราการไหลของน้ำป้อน และอุณหภูมิน้ำป้อน Boiler ที่ต้องการ




 

สภาพหลังปรับปรุงระบบ

จาก Diagram หลังปรับปรุงระบบอุณหภูมิน้ำป้อน Boiler ก่อนเข้า Deaerator Tank จะสูงขึ้นเช่นอุณหภูมิน้ำป้อนจาก 28 oC เพิ่มเป็น 60 oC เป็นต้นส่งผลให้ Boiler ทั้งระบบใช้พลังงานเชื้อเพลิงลดลง (อุณหภูมิน้ำป้อนหลังปรับปรุงขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนเหลือทิ้ง และการออกแบบ Heat Exchanger)

ตัวอย่าง: อุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งมีปริมาณน้ำป้อน Boiler เฉลี่ย 15 m3/hr ที่อุณหภูมิน้ำป้อน 28 oC โดยได้มีการนำระบบ Heat Exchanger มาใช้และออกแบบให้อุณหภูมิน้ำที่ออกจาก Heat Exchangerประมาณ 60 oC ส่งผลให้ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงดังนี้

ถ้ากำหนดให้ปริมาณการใช้ไอน้ำในการกระบวนการผลิตคงที่ทั้งสภาวะก่อน/หลังปรับปรุงปริมาณความร้อนของน้ำป้อนที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณเชื้อเพลิงที่ลดลงจะเท่ากับ

ผลประหยัด    =   15,000 kg/hr x 1 kcal/kg-oC x (60 oC – 28 oC)

                      =     480,000  kcal/hr

หรือคิดเป็นเชื่อเพลิงที่ประหยัดได้ เท่ากับ (คิดที่การใช้งาน Boiler24 hr/day , 300 day/yr )

  • 576 Ton/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน (คิด LHV ที่ 6,000 kcal/kg)
  • 13,710 MMBTU/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (คิด LHV ที่ 253,119 kcal/MMBTU)
  • 348,950 Liter/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาเกรด C(คิด LHV ที่ 9,904 kcal/Liter)



ที่มา: MITR
ระดับ TIER ของศูนย์คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน UPTIME INSTITUTE และ TIA-942
อาคารเอสซีจี 100 ปี อาคารที่พร้อมทั้งเทคโนโลยี และ LEED
คู่มือ การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน (ตอนที่ 1)
INFOTAINMENT
เกณฑ์อาคารเขียวไทย โดยคนไทย เพื่อประเทศไทย
Other articles...

 <  Back

   
   
{ Home }   { About Us }   { Our Services }   { News }   { Articles }   { Jobs }   { Contact Us }
บริษัท มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์ จำกัด
1168/8 ชั้น12 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถ.พระราม4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร. +66-2679-9079-84  โทรสาร. +66-2679-9085  E-mail: mitr@mitr.com
Copyright © 2010, MITR Technical Consultant Co.,Ltd. All rights reserved.