ENTH
MITR logoMITR technical consultant
Home   About Us   Our Services   News   Articles   Articles   Jobs   Contact Us  
News
 Variety
พุทธประวัติ แบบสั้นๆ
Published: 22 เมษายน 2556

เนื่องจากบทความนี้ เป็นบทความปฐมฤกษ์ สำหรับ “รวมมิตร” ในหมวดพระพุทธศาสนา ผมเห็นว่าทุกท่านคงอยากจะอ่านอะไรที่มันไม่หนักหนามากนัก ก็เลยขอเขียนเรื่องพุทธประวัติครับ สำหรับความน่าสนใจของพุทธประวัตินั้น ผมขอบอกเลยว่า ไม่มีนิยายเล่มไหนที่สนุกตื่นเต้นเร้าใจเท่าพุทธประวัติอีกแล้วครับ คิดดูสิครับ ถ้าใครชอบสวดมนต์จะพบว่ามีบทที่เรียกว่า “พาหุงฯ’” ซึ่งเป็นเรื่องของชัยชนะของพระพุทธเจ้าในรูปแบบต่างๆถึง 8 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องนั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว สยบมาร สยบช้างยักย์ สยบองคุลีมาล คุ้นๆใช่ไหมครับ แน่นอนครับ ว่าเรื่องที่น่าสนใจเหล่านี้ล้วนมาจากพุทธประวัติ ซึ่งหากมีโอกาสอันควรผมจะมาเล่าให้ฟังครับ ขอย้อนความทรงจำกันเมื่อประมาณ 2,600 ปีที่ผ่านมานะครับ บริเวณประเทศอินเดีย หรือที่มักเรียกกันในสมัยนั้นว่าชมพูทวีป (ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียปัจจุบัน กินพื้นที่ไปถึงเนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน) ในชมพูทวีปนั้นมีการปกครองในระบอบวรรณะ ซึ่งได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร (และจัณฑาลที่เป็นลูกผสมข้ามวรรณะและไม่เป็นที่ยอมรับของทั้งสี่วรรณะนี้) ในชมพูทวีปนั้น ได้มีแคว้นต่างต่างๆประมาณ 16 แค้วน โดยแคว้นใหญ่ๆเช่น แคว้นมคธ โกศล วัชชี คันธาระ กัมโพชะ โดยพระพุทธเจ้าได้ประสูติที่ลุมพินีวัน ที่อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และเทวทหะ แคว้นศากยะ ซึ่งเป็นแคว้นเล็กๆทางตอนเหนือของชมพูทวีป (ตามแผนที่ข้างล่างครับ) ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล


 

ในครั้งที่ท่านได้บำเห็ญเพียรนั้น ได้มีผู้ติดตามอยู่ 5 ท่าน ที่เรารู้จักกันดีว่าปัญจวัคคีย์และพระองค์รวม 6 ท่านได้ร่วมกันศึกษาและหาหนทางสู่ความสุขอันแท้จริง โดยมีทั้งการศึกษาสมาธิขั้นสูงต่างๆ ไปจนถึงการทรมานร่างกาย ให้จิตพ้นจากการควบคุมของร่างกาย แต่ก็ไม่เป็นผล

อิทธิปาฏิหาริย์ สมาธิ หรือการทรมานร่างกายก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์หรือเป้าหมายของท่านได้ ท่านไม่สามารถปลงใจได้ว่านี่คือสาระและแก่นสารของชีวิตจริงๆ การมีอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ทำให้จิตใจสงบสุขได้เลย (หากเป็นปัจจุบันเราก็จะได้เห็นคนที่ร่ำรวยจำนวนมากก็ไม่ได้มีความสุขอะไรมากมายในชีวิต) นี่ท่านมาถูกทางแล้วหรือ

เมื่อท่านมองไม่เห็นทาง ท่านก็ได้หวนนึกถึงความสุขในวัยเยาว์ ครั้งที่ท่านได้ทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ โดยกำหนดลมหายใจ (หรือที่เรียกกันว่าอานาปานสติสมาธิ : การทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ) ท่านมีความมั่นใจว่า โดยอาศัยอานาปานสตินี้จะทำให้ท่านพบความสุขที่แท้จริงได้ ซึ่งณ ตอนนี้ว่าปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ท่าน ก็ได้ละทิ้งการปรนนิบัติเจ้าชายสิทธัตถะอันเนื่องมาจากเข้าใจผิดว่าพระองค์รักความสบาย ไม่จริงจังในเป้าหมาย

 

ณ วันเพ็ญเดือนหก (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6ซึ่งเราจะเรียกวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา)ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เจ้าชายสิทธัตถะที่มีพระชนมายุได้ 35 ปี ก็ได้ให้คำสัตย์กับตนเองว่า “แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนหมดสิ้น จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที ถ้ายังไม่บรรลุซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ จักไม่ลุกขึ้นอย่างเด็ดขาด” และจากนั้นไม่กี่ชั่วยาม พระองค์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงผู้รู้ธรรมอันยิ่งได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะสั่งสอนสัตว์ให้เข้าใจในธรรมนั้น

สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้คือธรรมที่สำคัญยิ่งชื่อว่า “อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งหมายถึงคือหลักเหตุปัจจัย   เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี การเข้าใจถึงสิ่งนี้ พระองค์จึงสามารถสาวไปถึงสิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร อันไม่มีวันจบสิ้น (สิ่งนั้นคือ “อวิชชา”ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)

ก่อนอื่นผมขอเบรคตรงนี้นิดนึงสำหรับคนที่มีข้อสงสัย ขอให้รู้เลยว่ามันยากมากๆ อย่าเพิ่งไปพยายามทำความเข้าใจ เดี๋ยวจะปิดหน้าจอนี้ไป ผมเสียดายแย่เลยครับ

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ามันยากมาก แน่นอนครับว่าไปสอนใครไม่มีใครฟังหรอกครับ ท่านเลยประมวลเป็นคำสอนที่พวกเราได้ยินบ่อยครั้งนั่นคือ “อริยสัจ 4” หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง 4 นั่นคือ 


 

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น การเกิด แก่ ตาย การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพราก

2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในการเสพสิ่งต่างๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย , ภวตัณหา-ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ และ วิภวตัณหา-คความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ การดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง ที่เราเรียกว่า ""นิพพาน

4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, เจรจาชอบ, ทำการงานชอบ, เลี้ยงชีพชอบ, พากเพียรชอบ, ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ

 

พระพุทธเจ้าของเรา ได้เล็งเห็นความยากของธรรมนี้ ท่านจึงเริ่มสั่งสอนผู้ที่มีปัญญา น่าจะเข้าใจโดยง่าย ท่านจึงมุ่งหน้าสู่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี (ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี) เพื่อให้ความรู้แก่ปัญจวัคคีย์ โดยครั้งนี้เราเรียกว่า ปฐมเทศนา ในวันขึ้น 15 เดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชา โดยเป็นคำสอนที่สำคัญยิ่งอีกหนึ่งคำสอน ชื่อว่า " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"    โดยคำสอนนี้เน้นถึงมรรคมีองค์แปดประการ

ที่มา: BT
พุทธประวัติ แบบสั้นๆ

พุทธประวัติของพระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าน...
Other Dharma Variety...

 <  back

   
   
{ Home }   { About Us }   { Our Services }   { News }   { Articles }   { Variety }  { Jobs }   { Contact Us }
บริษัท มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์ จำกัด
1168/8 ชั้น12 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถ.พระราม4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร. +66-2679-9079-84  โทรสาร. +66-2679-9085  E-mail: mitr@mitr.com
Copyright © 2010, MITR Technical Consultant Co.,Ltd. All rights reserved.