ENTH
MITR logoMITR technical consultant
Home   About Us   Our Services   News   Articles   Jobs   Contact Us  
Articles  
 Ariticles
หอผึ่งน้ำ ขุมทรัพย์แห่งพลังงาน ตอนที่ 3
ผู้เขียน: นายสุทธิพงศ์ ศรีนุ่นวิเชียร
เผยแพร่: 3 กุมภาพันธ์ 2555

วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับหอผึ่งน้ำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น
 

  • การเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสม (Cooling tower optimization) วิธีนี้คือการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้สามารถทำอุณหภูมิน้ำด้านออกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature) มากที่สุด เป็นต้น



                                           กราฟแสดงค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยรายชั่วโมงแต่ละเดือนของกรุงเทพมหานคร

  • การปรับปรุงประสิทธิภาพหอผึ่งน้ำให้มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนดีขึ้น เช่น การเปลี่ยน Filler การปรับอัตราการไหลให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนทิศทางให้สอดคล้องกับทิศทางของลม การปรับมุมของใบพัดให้กินลมมากขึ้น การเปลี่ยนชนิดหอผึ่งน้ำ เป็นต้น
  • การปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่น การติดตั้งระบบ Automatic bleed off การติดตั้งระบบ Ozone generator การติดตั้งระบบ silver copper การใช้สารเคมีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
  • การปรับปรุงอุปกรณ์ต้นกำลัง เช่น การเปลี่ยนใบพัดจากชนิดอลูมิเนียมเป็น Fiber glass การติดตั้ง VSD (Variable speed drive) ที่ Fan motor หรือที่ Condenser water pump การเปลี่ยนชุดขับของ Fan motor จากสายพานเป็นเกียร์ เป็นต้น

 

         ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีไหนในการอนุพลังงาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือควรจะมีการตรวจวัดเพื่อประเมินผลประหยัดที่จะได้ก่อนดำเนินการปรับปรุง เนื่องจากบางวิธีอาจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนถ้าปัจจุบันมีการดูแลรักษาหอผึ่งน้ำดีอยู่แล้ว จากวิธีการอนุรักษ์พลังงานด้านบนเรามาดูตัวอย่างการปรับปรุงการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการดำเนินงานที่ง่ายที่สุด เห็นผลการประหยัดชัดเจน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าหลายๆ ที่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับวิธีนี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจหรือไม่ใส่ใจในการปรับปรุงก็เป็นได้
 

         ตัวอย่าง อาคารแห่งหนึ่งเปิดใช้งานเครื่องทำน้ำเย็นขนาด 800 ตัน จำนวน 2 ชุด และเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน จำนวน 2 ชุด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำ 94.3 oF อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นออกจากหอผึ่งน้ำ 85.1 oF ขณะที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกเท่ากับ 75.1 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 989.5 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 43.2 kW รวม 1,032.7 kW
 

          ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 94.3 – 85.1 / 94.3 – 75.1
                                                                = 0.4792 หรือ 47.92%


          ปรับปรุงโดยการเปิดหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน เพิ่มอีก 1 ชุด โดยไม่เปิด Condenser water pump ปรากฏว่าอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำเท่ากับ 89.2 oF และออกเท่ากับ 81.2 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 934.2 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 64.4 kW (เพิ่มขึ้นจากการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่ม21.2 kW) รวม 968.6 kW ผลการดำเนินการแสดงดังรูป

กราฟแสดงผลการปรับปรุงการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่มขึ้น




          ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 89.2 – 81.2 / 89.2 – 75.1
                                                               = 0.5674 หรือ 56.74%
          กำลังไฟฟ้าที่ลดลง                       = 1,032.7 – 968.6
                                                               = 64.1 kW
          อาคารเปิดใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน และ 250 วันต่อปี ต้นทุ้นค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3.50 บาท/kWh ดังนั้นสามารถประหยัดพลังงานได้                                                         = 64.1 kW x 10 hr/day x 250 day/yr
                                                             = 160,250 kWh/yr
                                                 หรือ     = 560,875 บาท/ปี
 

          จากการดำเนินการดังตัวอย่างจะเห็นว่าการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำตามค่าที่ออกแบบไว้นั้นอาจจะไม่ใช้จุดที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงาน แต่ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวผู้ Operate จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการสังเกตุและคำนวณเพราะถ้าบางครั้งเปิดจำนวนหอผึ่งน้ำมากเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานได้เช่นกัน
 




ที่มา: MITR
ระดับ TIER ของศูนย์คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน UPTIME INSTITUTE และ TIA-942
อาคารเอสซีจี 100 ปี อาคารที่พร้อมทั้งเทคโนโลยี และ LEED
คู่มือ การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน (ตอนที่ 1)
INFOTAINMENT
เกณฑ์อาคารเขียวไทย โดยคนไทย เพื่อประเทศไทย
Other articles...

 <  Back

   
   
{ Home }   { About Us }   { Our Services }   { News }   { Articles }   { Jobs }   { Contact Us }
บริษัท มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์ จำกัด
1168/8 ชั้น12 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถ.พระราม4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร. +66-2679-9079-84  โทรสาร. +66-2679-9085  E-mail: mitr@mitr.com
Copyright © 2010, MITR Technical Consultant Co.,Ltd. All rights reserved.