ในครั้งที่ท่านได้บำเห็ญเพียรนั้น ได้มีผู้ติดตามอยู่ 5 ท่าน ที่เรารู้จักกันดีว่าปัญจวัคคีย์และพระองค์รวม 6 ท่านได้ร่วมกันศึกษาและหาหนทางสู่ความสุขอันแท้จริง โดยมีทั้งการศึกษาสมาธิขั้นสูงต่างๆ ไปจนถึงการทรมานร่างกาย ให้จิตพ้นจากการควบคุมของร่างกาย แต่ก็ไม่เป็นผล
อิทธิปาฏิหาริย์ สมาธิ หรือการทรมานร่างกายก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์หรือเป้าหมายของท่านได้ ท่านไม่สามารถปลงใจได้ว่านี่คือสาระและแก่นสารของชีวิตจริงๆ การมีอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ทำให้จิตใจสงบสุขได้เลย (หากเป็นปัจจุบันเราก็จะได้เห็นคนที่ร่ำรวยจำนวนมากก็ไม่ได้มีความสุขอะไรมากมายในชีวิต) นี่ท่านมาถูกทางแล้วหรือ
เมื่อท่านมองไม่เห็นทาง ท่านก็ได้หวนนึกถึงความสุขในวัยเยาว์ ครั้งที่ท่านได้ทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ โดยกำหนดลมหายใจ (หรือที่เรียกกันว่าอานาปานสติสมาธิ : การทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ) ท่านมีความมั่นใจว่า โดยอาศัยอานาปานสตินี้จะทำให้ท่านพบความสุขที่แท้จริงได้ ซึ่งณ ตอนนี้ว่าปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ท่าน ก็ได้ละทิ้งการปรนนิบัติเจ้าชายสิทธัตถะอันเนื่องมาจากเข้าใจผิดว่าพระองค์รักความสบาย ไม่จริงจังในเป้าหมาย
ณ วันเพ็ญเดือนหก (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6ซึ่งเราจะเรียกวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา)ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เจ้าชายสิทธัตถะที่มีพระชนมายุได้ 35 ปี ก็ได้ให้คำสัตย์กับตนเองว่า “แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนหมดสิ้น จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที ถ้ายังไม่บรรลุซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ จักไม่ลุกขึ้นอย่างเด็ดขาด” และจากนั้นไม่กี่ชั่วยาม พระองค์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงผู้รู้ธรรมอันยิ่งได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะสั่งสอนสัตว์ให้เข้าใจในธรรมนั้น
สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้คือธรรมที่สำคัญยิ่งชื่อว่า “อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งหมายถึงคือหลักเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี การเข้าใจถึงสิ่งนี้ พระองค์จึงสามารถสาวไปถึงสิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร อันไม่มีวันจบสิ้น (สิ่งนั้นคือ “อวิชชา”ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
ก่อนอื่นผมขอเบรคตรงนี้นิดนึงสำหรับคนที่มีข้อสงสัย ขอให้รู้เลยว่ามันยากมากๆ อย่าเพิ่งไปพยายามทำความเข้าใจ เดี๋ยวจะปิดหน้าจอนี้ไป ผมเสียดายแย่เลยครับ
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ามันยากมาก แน่นอนครับว่าไปสอนใครไม่มีใครฟังหรอกครับ ท่านเลยประมวลเป็นคำสอนที่พวกเราได้ยินบ่อยครั้งนั่นคือ “อริยสัจ 4” หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง 4 นั่นคือ
|